messager
check_circle สภาพทั่วไป
ประวัติความเป็นมา
ตำบลวังนกแอ่น จัดตั้งเป็นตำบลเมื่อ พ.ศ. 2479 ราษฎรอพยพมาจากหลายแห่ง เช่น เมืองเชียงตุง ประเทศพม่า ประเทศลาว และอำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลย เข้ามาทำไร่ ทำสวน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เล่าขานกันว่า ในเดือนสามจะมีนกนางแอ่น มาเกาะตามบ้านเรือน ชาวบ้านเรียกติดปากว่า “บ้านวังนกแอ่น” เดิมบ้านวังนกแอ่นขึ้นกับตำบลชัยนาม มีนายเลื่อมเป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นคนแรก ต่อมา นายเหล่ พนารักษ์ เป็นนายอำเภอวังทอง ได้แยกบ้านวังนกแอ่นออกจากตำบลชัยนาม ตั้งเป็นตำบลวังนกแอ่น

ประวัติหน่วยงาน
องค์การบริหารส่วนตำบลวังนกแอ่น ได้ยกฐานะจากสภาตำบลวังนกแอ่น เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 เป็นราชการส่วนท้องถิ่น (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

จำนวนประชากร
จำนวนครัวเรือน จำนวน 6,553 ครัวเรือน ประชากรทั้งสิ้น จำนวน 16,492 คน แยกเป็น ชาย จำนวน 8,503 คน คิดเป็นร้อยละ 51.56 หญิง จำนวน 7,989 คน คิดเป็นร้อยละ 48.44 มีความหนาแน่นเฉลี่ย 31.50 คน / ตร.กม.

อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ จด ตำบลแก่งโสภา ตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย ทิศใต้ จด ตำบลท่าหมื่นราม อำเภอวังทอง ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง ทิศตะวันออก จด ตำบลดินทอง ตำบลชัยนาม อำเภอวังทอง ทิศตะวันตก จด อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์

ที่ตั้งและอาณาเขต
องค์การบริหารส่วนตำบลวังนกแอ่นตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านบ่อ ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง ริมถนนสายพิษณุโลก–หล่มสัก ทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 12 (ห่างจากอำเภอวังทอง ประมาณ 19 กิโลเมตร และตัวจังหวัดพิษณุโลก ประมาณ 34 กิโลเมตร ) เนื้อที่ ประมาณ 523.55 ตารางกิโลเมตร หรือ 327,218 ไร่

สภาพภูมิประเทศ
มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง และภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำวังทองฝั่งซ้าย และฝั่งขวา รวมทั้งในเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ มีแม่น้ำเข็กไหลผ่านกลางตำบล จากทิศตะวันออก ไหลไปสู่ทิศตะวันตก มีหมู่บ้านตั้งอยู่กระจัดกระจายอยู่ริมสองฝั่ง ของแม่น้ำและภูเขา ซึ่งเหมาะกับการประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรม ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์

อาชีพประชากร
- ทำไร่ ทำสวน ( มันสำปะหลัง ข้าวโพด ทำสวนผลไม้ ปลูกยางพารา ฯลฯ ) - เลี้ยงสัตว์ ( ไก่ สุกร โค กระบือ ) - ค้าขาย - อุตสาหกรรมในครัวเรือน( เครื่องปั้นดินเผาทำถังขยะจากยางรถยนต์ กลั่นสุราพื้นบ้าน ฯลฯ) - รับจ้างทั่วไป

เขตการปกครอง
ปัจจุบันแบ่งเขตการปกครอง ออกเป็น 20 หมู่บ้าน ได้แก่


check_circle สภาพสังคม
สภาพสังคม
ประชากรตำบลวังนกแอ่น มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย อุปนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี ตั้งหมู่บ้านอยู่เป็นกลุ่ม มีความสัมพันธ์กันแบบเครือญาติ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัดเป็นศูนย์รวมของคนในชุมชน ผู้คนมีความสามัคคียึดมั่นในวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น และวัฒนธรรมประเพณี

ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม
- วันขึ้นปีใหม่ เดือนมกราคม จัดงานทาบุญตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง - งานประเพณีทำบุญกลางบ้าน - วันสงกรานต์ เดือนเมษายน จัดพิธีรดน้ำอวยพรผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ - แห่เทียนพรรษา เดือนกรกฎาคม จัดให้มีการหล่อเทียนพรรษาและแห่เทียนพรรษาเพื่อให้

สถาบันและองค์กรทางศาสนา
องค์การบริหารส่วนตำบลวังนกแอ่น มีศาสนสถานอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 37 แห่ง วัด ( หมู่ที่ 1,2,3,4,5,6,19 ) จำนวน 8 แห่ง สำนักสงฆ์ จำนวน 29 แห่ง

การศึกษา ในตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลวังนกแอ่น มีสถานศึกษาอยู่ในเขต องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 12 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ - โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง ( หมู่ที่ 19 ) - โรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 6 แห่ง (หมู่ที่ 3,4,6,7,9,20) - โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 5 แห่ง ( หมู่ที่ 1,2,10,11,13 ) - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 4 แห่ง ( สังกัด อบต.วังนกแอ่น จำนวน 3 แห่ง หมู่ที่ 1,4,6 ) ( สังกัด กรมรบพิเศษที่ 4 จำนวน 1 แห่ง )

การสาธารณสุข
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 4 แห่ง ( หมู่ที่ 10,16,19 ,20) - อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100%

ความปลอดภัย ในตำบล
- ที่พักสายตรวจ จำนวน 3 แห่ง ( หมู่ที่ 2,3, สวนรุกขชาติสกุโณทยาน) - ศูนย์ อปพร.ตำบลวังนกแอ่น

check_circle บริการขั้นพื้นฐาน
การคมนาคม
องค์การบริหารส่วนตำบลวังนกแอ่น ตั้งอยู่ในเขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่ริมถนนสายพิษณุโลก–หล่มสัก ทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 12 ห่างจากอำเภอวังทองประมาณ 19 กิโลเมตร และจังหวัดพิษณุโลก ประมาณ 34 กิโลเมตร *** มีรถโดยสารประจำทางระหว่างเมือง ผ่าน สาย พิษณุโลก - นครไทย – ชาติตระการ –หล่มสัก - ชุมแพ – ขอนแก่น –อุดรธานี พิษณุโลก – ด่านซ้าย - เชียงใหม่ – ขอนแก่น เชียงราย – ขอนแก่น *** มีรถโดยสารประจำทางระหว่างท้องถิ่น สายพิษณุโลก – ทรัพย์ไพรวัลย์ - บ้านกลาง สายวังทอง – ทรัพย์ไพรวัลย์ - บ้านกลาง

แหล่งน้ำ ในตำบล
- อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 2 แห่ง ที่หมู่ 8,9 กักเก็บน้ำได้ตลอดปี - ฝายน้ำล้น จำนวน 15 แห่ง - บ่อน้ำตื้น จำนวน 35 แห่ง - บ่อบาดาล จำนวน 39 แห่ง - ประปาหมู่บ้าน จำนวน 32 แห่ง - ประปาภูเขา จำนวน 11 แห่ง

แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ
** แม่น้ำเข็ก (แม่น้ำวังทอง ) ซึ่งไหลมาจากอำเภอเขาค้อ เข้าสู่ตำบลวังนกแอ่น ที่หมู่ 16 ไหลผ่านเข้าสู่ หมู่ที่ 15,5,18,3,17,7,2 และออกไปทางหมู่ที่ 1 ไหลสู่ตำบลชัยนาม ระยะทาง แม่น้ำไหลผ่าน ตำบลนี้ประมาณ 38 กิโลเมตร มีน้ำตลอดทั้งปี ** ป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำวังทอง ฝั่งซ้าย – ขวา ** อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ** ป่าอนุรักษ์

ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
น้ำตกสกุโณทยาน (สวนรุกขชาติสกุโณทยาน) หมู่ที่ 2 บ้านวังนกแอ่น ตำบลวังนกแอ่นริมถนนสายพิษณุโลก–หล่มสัก( ทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 12 ) ห่างจากอำเภอวังทอง ประมาณ 13 กิโลเมตร และจังหวัดพิษณุโลก ประมาณ 28 กิโลเมตร และยังมีน้ำตกปอย แก่งซอง แก่งโสภา ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลวังนกแอ่นกับตำบลแก่งโสภา

check_circle สาธารณูปโภค
ไฟฟ้า ในตำบล
* ประชาชนในตำบลมีไฟฟ้าใช้กันอย่างทั่วถึง

ประปา ในตำบล
* ประชาชนในตำบลมีระบบน้ำประปาใช้กันอย่างทั่วถึง

การสื่อสาร ในตำบล
* ที่ทำการไปรษณีย์(เอกชน) จำนวน 1 แห่ง * สถานีโทรคมนาคม จำนวน 6 แห่ง - สถานีรีเลย์สัญญานโทรศัพท์ระบบ ดีแทค จำนวน 5 แห่ง - สถานีรีเลย์สัญญานโทรศัพท์ระบบ ดิจิตตอลจีเอสเอ็ม จำนวน 1 แห่ง

หน่วยธุรกิจ ในตำบล
* ปั๊มน้ำมัน (PTT)( หมู่ที่ 19 ) จำนวน 1 แห่ง * เครื่องปั้นดินเผา ( หมู่ที่ 1 ) จำนวน 5 แห่ง * ทำถังขยะจากยางรถยนต์ ( หมู่ที่ 3 ) จำนวน 5 แห่ง * โรงกลั่นสุรา ( หมู่ที่ 13 ) จำนวน 1 แห่ง * รีสอร์ท หมู่ที่ 7 ) จำนวน 2 แห่ง * ร้านค้าขายของชำ จำนวน 144 แห่ง * ร้านขายอาหาร จำนวน 27 แห่ง * บริษัทรับซื้อยางพารา จำนวน 1 แห่ง * กลุ่มตลาดร่มเขียวชุมชน หมู่ที่ 2 จำนวน 1 แห่ง

มวลชนจัดตั้ง
* ลูกเสือชาวบ้าน จำนวน 5 รุ่น * อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 4 รุ่น จำนวน 275 นาย * หมู่บ้าน อพป. (หมู่ที่ 2,4,5,6,9) จำนวน 5 หมู่บ้าน * คณะกรรมการพัฒนาสตรี จำนวน 20 หมู่บ้าน * กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต (หมู่ที่ 2,3,4,6,7,8,10,13,14,16) จำนวน 11 หมู่บ้าน * กลุ่มอาชีพ จำนวน 7 กลุ่ม - กลุ่มเลี้ยงผึ้ง (หมู่ที่ 3,17) - กลุ่มผู้ปลูกยางพารา - กลุ่มผู้ปลูกลำไย - กลุ่มสตรีแปรรูปอาหาร (หมู่ที่ 2,5,6,9,19) - กลุ่มผู้ปลูกสมุนไพร (หมู่ที่ 5,9) - กลุ่มผลิตสุรากลั่น (หมู่ที่ 7,13) - กลุ่มเกษตรกรทำไร่วังนกแอ่น * อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 183 คน * อาสาพัฒนาประชาธิปไตย จำนวน 86 คน * อาสาสมัครพลังงานชุมชน จำนวน 50 คน

image ผลิตภัณฑ์
ครองแครงกรอบสูตรโบราณ[24 สิงหาคม 2565]
ผลิตภัณฑ์จากยางรถยนต์[23 สิงหาคม 2565]
 
image สถานที่สำคัญ
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร @ สวนเกษตรไพบูลย์[30 กันยายน 2564]
จุดล่องแก่ง แม่น้ำเข็ก บ้านท่าข้าม หมู่ที่ 5 ตำบลวังนกแอ่น[29 กันยายน 2564]
ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าพิษณุโลก[28 กันยายน 2564]
น้ำตกไผ่สีทอง [27 กันยายน 2564]
 
check_circle วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
วิสัยทัศน์ อบต.วังนกแอ่น
"วังนกแอ่นก้าวหน้า ชาวประชาสุขใจ ท้องถิ่นก้าวไกล ใส่ใจพัฒนา พึ่งพาตนเอง"

คำขวัญประจำตำบล
"น้ำตกน่ายล ไม้ผลหวานฉ่ำ เลิศล้ำประเพณี ของดีวังนกแอ่น"

พันธกิจ
- พัฒนาคนให้มีคุณธรรม เรียนรู้ตลอดชีวิตมีทักษะการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย เข้าถึงการให้บริการสาธารณะภายใต้ระบบการบริหารจัดการของรัฐที่โปร่งใส เป็นธรรม - พัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เป็นกลไกที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีส่วนร่วมในการยกระดับคุณภาพ ชีวิตบนค่านิยมและวัฒนธรรมอันดีงาม โดยยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา - พัฒนาองค์ความรู้ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ - สร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรสนับสนุนการผลิต และการให้บริการอย่างมีคุณภาพบนฐานความรู้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนและมุ่งเน้นให้เกิดการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง - สร้างสังคมสันติสุขโดยเริ่มที่ครอบครัวอบอุ่น ทุกคนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ ชุมชนที่เข้มแข็งประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน - พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดีเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการที่รวดเร็ว และโปร่งใส

check_circle ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ ที่ 1
การพัฒนาบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางการพัฒนา - พัฒนาเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - ป้องกันและแก้ไขทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - กำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูลถูกวิธี

ยุทธศาสตร์ ที่ 2
ส่งเสริมการท่องเที่ยวและการกีฬา แนวทางการพัฒนา - ส่งเสริมการท่องเที่ยวและปรับปรุงภูมิทัศน์สถานที่ท่องเที่ยว - ประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลข่าวสารสถานที่ท่องเที่ยวและกีฬา - จัดสถานที่เล่นกีฬาและส่งเสริมการเล่นกีฬาให้กับประชาชน/ เยาวชน

ยุทธศาสตร์ ที่ 3
ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสร้างความเข้มแข็งของชุมชน แนวทางการพัฒนา - ส่งเสริมอาชีพ/รายได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง - ให้สวัสดิการและหลักประกันสุขภาพทั่วหน้าให้กับประชาชน - ส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนพร้อมกับการป้องกันการระบาดของโรคติดต่อ

ยุทธศาสตร์ ที่ 4
ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา ศิลปะวัฒนะธรรมปัญญาท้องถิ่น แนวทางการพัฒนา - พัฒนาการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพ - ส่งเสริมศาสนา อนุรักษ์ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์ ที่ 5
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แนวทางการพัฒนา - ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุง ถนน สะพาน และท่อระบายน้ำที่ได้มาตรฐาน - ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค - การติดตั้งและขยายเขตไฟฟ้า

ยุทธศาสตร์ ที่ 6
จัดระเบียบชุมชน ผังเมืองและการรักษาความสงบเรียบร้อยในชุมชน แนวทางการพัฒนา - เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย - บูรณาการป้องกันปัญหายาเสพติด

ยุทธศาสตร์ ที่ 7
บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล แนวทางการพัฒนา - เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานบนฐานความคุ้มค่า โปร่งใส ถูกต้อง - ยกระดับการศึกษาและอบรมของพนักงาน/บุคลากรของ อบต. - สร้างความพึ่งพอใจในการทำงานและบริการของ อบต. - ปรับปรุง/พัฒนาระบบการจัดเก็บภาษี - สร้างการมีส่วนร่วมในการวางแผนชุมชนและจัดประชาคมท้องถิ่น

view_list โครงสร้างองค์กร
find_in_page โครงสร้างองค์การบริหารส่วนตำบลวังนกแอ่น poll
เผยแพร่วันที่ : 30 ตุลาคม 2564 | เปิดอ่าน : pageview160

check_circle บทบาทหน้าที่
บทบาทหน้าที่ สำนักปลัด
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการประชาชนที่เข้ามาติดต่อ อีกทั้งยังมีหน้าที่รับผิดชอบในด้านการกำกับเร่งรัดการปฏิบัติงานให้ดำเนินไปตามนโยบายแผนงาน และแนวทางการปฏิบัติราชการ มีงานที่ต้องรับผิดชอบดูแลได้แก่ งานธุรการ งานการเจ้าหน้าที่ งานทะเบียนราษฎร งานวิเคราะห์นโยบายและแผน งานจัดทำงบประมาณงานประชาสัมพันธ์ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

บทบาทหน้าที่ กองคลัง
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงินเพื่อให้เป็นไปตามงบประมาณ การจัดทำงบแสดงฐานะทางการเงิน บันทึกบัญชี จัดทำทะเบียนและรายงานทางการเงิน ตรวจสอบหลักฐาน ใบสำคัญจ่ายเงิน ดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้าง เร่งรัดจัดเก็บรายได้ ค่าธรรมเนียม ใบอนุญาตต่างๆ ซึ่งรายได้จากการจัดเก็บจะถูกจัดสรรและผลักดันไปสู่โครงการต่างๆ ให้สัมฤทธิ์ผล

บทบาทหน้าที่ กองช่าง
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสำรวจออกแบบและเขียนแบบ การจัดทำข้อมูลทางด้านวิศวกรรม การจัดเก็บและทดสอบคุณภาพ วัสดุ งานออกแบบและเขียนแบบ การตรวจสอบก่อสร้าง งานควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย แผนการปฏิบัติงาน ก่อสร้าง และซ่อมแซมบำรุง จึงถือเป็นกลไกลสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบาย และแผนงาน ในการวางโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ อาทิเช่น ซ่อมแซมถนนหนทาง ไฟฟ้า ทางเท้า ฯลฯ ให้ได้มาตรฐาน

บทบาทหน้าที่ กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางการศึกษาเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาหลักสูตร การแนะแนว การวัดผลประเมินผล การพัฒนาตำราเรียน การวางแผนการศึกษาของมาตรฐานสถานศึกษา การจัดบริการส่งเสริมการศึกษา การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา การเสนอแนะ เกี่ยวกับการศึกษา ส่งเสริมการวิจัย การวางโครงการสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลสถิติการศึกษาเพื่อนำไปประกอบการพิจารณา กำหนดนโยบาย แผนงาน และแนวทางการปฏิบัติในการจัดการศึกษา การเผยแพร่การศึกษาและ ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

บทบาทหน้าที่ หน่วยตรวจสอบภายใน
หน่วยงานตรวจสอบภายในมีภาระหน้าที่ งานตรวจบัญชี ทะเบียน เอกสาร การเบิกจ่ายเงิน การรับเงินทุกประเภท ภาษีทั้งภายนอกภายใน การเก็บรักษาหลักฐาน การเงินบัญชี การจัดเก็บ รายได้ พัสดุทรัพย์สินของหน่วยงานและการทำประโยชน์

security อำนาจหน้าที่
insert_drive_file คู่มือมาตรฐานการให้บริการ
คู่มือการให้บริการ E-Service poll
เผยแพร่วันที่ : 22 กุมภาพันธ์ 2567 | เปิดอ่าน : pageview32
คู่มือลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยความพิการ สำหรับประชาชน poll
เผยแพร่วันที่ : 22 มกราคม 2567 | เปิดอ่าน : pageview58
คู่มือจดทะเบียนพาณิชย์ สำหรับประชาชน poll
เผยแพร่วันที่ : 14 ธันวาคม 2566 | เปิดอ่าน : pageview46
คู่มือรับเรื่องร้องทุกข์/ร้องเรียน สำหรับประชาชน poll
เผยแพร่วันที่ : 14 ธันวาคม 2566 | เปิดอ่าน : pageview53
คู่มือการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน สำหรับประชาชน poll
เผยแพร่วันที่ : 14 ธันวาคม 2566 | เปิดอ่าน : pageview78


× องค์การบริหารส่วนตำบลวังนกแอ่น